วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ข้อควรคำนึงก่อนเลือกซื้อแอร์บ้าน

ก่อนจะซื้อแอร์ทั้งที ควรศึกษาสักนิด จะได้ไม่ต้องมานั่งช้ำใจภายหลัง ^_^

ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มียี่ห้อที่เชื่อถือได้ เพราะแอร์โนเนม ส่วนใหญ่จะมี บีทียูน้อยกว่าที่บอกไว้ (ภาษาช่างแอร์เรียกว่า ไม่เต็ม บีทียู ) แอร์โนเนมส่วนใหญ่มี Btuh ประมาณ 70-80% ของที่่โฆษณาไว้ นอกจาก
จะไม่เต็มบีทียูแล้ว แอร์โนเนมยังมีเสียงดัง, กินไฟ และเสียเร็วอีกด้วย
การคำนวณขนาดทำความเย็น (Cooling capacity หรือ BTU) ควรเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้ง เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม เพราะการซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะส่งผลให้ห้องมีความเย็นมากเกินไปทำให้เครื่องต้องเดิน
-หยุดบ่อย นอกจากนี้ราคาเครื่องและ ค่าติดตั้งก็จะสูงตามไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าซื้อเครื่องปรับอากาศ
ขนาดเล็กเกินไป การทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ และเครื่องก็ต้องทำงานตลอดเวลา ทำให้เครื่องมีอายุการ
ใช้งานสั้นลง ดังนั้นควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีความสามารถในการทำความเย็นให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้อง
โดยใช้วิธีการคำนวณ บีทียู พื้นฐาน หรือ สอบถาม ช่างผู้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

ลักษณะการใช้งาน เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยดูประเภทของห้องว่าเป็นห้องนอน ห้องรับแขก
ห้องทำงาน ร้านอาหาร ร้านค้า โรงแรม โรงพยาบาล ฯลฯ
รูปแบบ (ตั้ง-แขวน, ติดผนัง, ตู้ตั้ง, ฝังเพดาน) เลือกรูปแบบของเครื่องปรับอากาศ โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่จะทำ
การติดตั้ง และความสะดวกในการดูแลรักษา (Maintenance) เครื่องแอร์แบบติดผนัง จะมีเสียงเงียบ
กว่าแบบตั้งพื้น/แขวนฝ้า แต่ว่าก็จะมีราคาแพงกว่า แต่อยากจะแนะนำให้ใช้ แบบติดผนัง โดยเฉพาะในห้องนอน เพราะว่าเสียงเงียบกว่ากันมาก

ควรเลือกใช้เทอร์โมสตัทแบบอิเลคโทรนิค เพราะควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำ ไม่สวิงไปมา แอร์รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่เทอร์โมสตัท จะเป็นแบบอิเลคโทรนิกแล้ว ยกเว้นแอร์แบบตั้งพื้น/แขวนฝ้าบางรุ่นเท่านั้น ที่ยังคงให้แบบธรรมดามา (แบบไบเมทอล) มีข้อสังเกตง่ายๆอีกอย่างก็คือ ถ้าแอร์มีรีโมทคอนโทรล เทอร์โมสตัทจะเป็นแบบอิเลคโทรนิกค่อนข้างจะแน่นอน

ไม่ต้องไปสนใจมากกับแผ่นฟอกอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ เพราะ เสื่อมสภาพเร็วมากๆ และที่ให้มาก็มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถฟอกอากาศได้ตามที่โฆษณาแน่ๆ (อาจจะจับฝุ่นได้ 1000 อนุภาค จากที่วิ่งผ่านเป็นล้านอนุภาค) เป็นเพียงเครื่องมือทางการตลาดเท่านั้น นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วๆไป ยังมักไม่ค่อยจะเปลี่ยนแผ่นฟอกอากาศด้วย ดังนั้นเมื่อใช้เครื่องไปพักเดียว ก็เหมือนกับไม่มีแผ่นฟอกอากาศอยู่แล้ว

ควรเลือกใช้แอร์ที่มีฉลากประหยัดไฟ จะเบอร์ 5 หรือ เบอร์ 4 ก็ได้ (ต่ำกว่าเบอร์ 4 ไม่เห็นมีขาย) หรือ ได้มาตรฐาน มอก. เพราะ เป็นเครื่องที่มีการทดสอบความสามารถการทำความเย็นแล้ว (Btu/h) ซึ่งจะทำให้เราได้แอร์เต็มบีทียู (มีข่าวว่า มีการปลอมฉลากเบอร์ 5 เหมือนกัน ดังนั้นต้องดูประกอบกับยี่ห้อที่น่าเชื่อถือด้วย)


การคำนวนขนาดบีทียูที่เหมาะสมกับการติดตั้งแอร์

BTU คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยดังนี้
1 ตันความเย็น = 12000 บีทียู / ชั่วโมง เราควรเลือกขนาดบีทียูของเครื่องปรับอากาศ ให้มีขนาดพอเหมาะกับห้องที่จะทำการติดตั้ง

ทำไมต้องเลือกบีทียูให้พอเหมาะ

BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิ์ภาพในการทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สบายตัวและที่สำคัญราคาแพงและสิ้นเปลื้องพลังงาน

BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สิ้นเปลื้องพลังงานและเครื่องเสียเร็ว

สามารถเลือกได้จากตารางข้างล่างดังนี้

BTU ห้องปกติ(ตร.เมตร) ห้องที่โดนแดด(ตร.เมตร)
9000 12-15 11-14
12000 16-20 14-18
18000 24-30 21-27
21000 28-35 25-32
24000 32-40 28-36
26000 35-44 30-39
30000 40-50 35-45
36000 48-60 42-54
48000 64-80 56-72
60000 80-100 70-90

ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม

1. จำนวนและขนาดของหน้าต่าง

2.ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง

3.วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่

4. จำนวนคนที่ใช้งานในห้อง

Credit : นสพ.ฉบับนึง (- -")